Monday, September 21, 2009

THE PARTY IS OVER


งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา
สถานการณ์เปลี่ยนแต่มิตรภาพไม่เคยเปลี่ยน ในวันที่เราเริ่มตั้งวงกินเหล้ากันแบบไทยๆ เมื่อหลายเดือนก่อน ความสุขที่พวกเราสัมพัสได้ไม่ใช่แค่เสียงหัวเราะจากเรื่องเล่าเรื่องสนุกในวงเหล้า หรือกับแกล้มที่พวกเราสรรหากันมาทำกิน แต่เราได้รับรู้ถึงสิ่งที่ขาดหายไปในสังคมของพวกเราในแคนาดา วัฒนธรรมตะวันตก ไม่มีการนั่งล้อมวงกินเหล้าพร้อมกับแกล้มแบบไทย ในงานเลี้ยงงานสังสรรค์พวกฝรั่งจะยืนกินเหล้าพูดคุยกันก่อนนั่งโต๊ะกินข้าวแล้วเลิกลากันไป หรือถ้าเป็นงานสังสรรค์หลัง dinner ก็จะแต่งตัวสวยๆ หล่อๆ ออกไปยืนกินเหล้ายืนเต้นกันในผับในบาร์โดยไม่ไม่กินอาหารอะไรกันอีก ถ้าเป็นงานแบบ Summer BBQ ในฤดูร้อนก็แค่เดินถือกระป๋องเบียร์แก้วเหล้าแก้วไวน์เดินคุยกันไปกินอาหารปิ้งย่างกันไป ต่างจากวัฒนธรรมของพวกเราที่จะนั้งกันเป็นวงกันวงเล็กวงใหญ่ล้อมกรอบขวดเหล้าผสมโซดากับน้ำแข็งคุยเฮกันไปกินกับแกล้มกันไปไม่มีการแตกวงจนเมาได้ที่เลิกวงกันไป ดังนั้นบทสนทนาในงานสังสรรค์แบบของฝรั่งส่วนใหญ่จะกระจายเป็นปัจเจกชนจับคู่จับกลุ่มเล็กๆยืนพูดคุยกันไปแล้วก็เดินสลับสับเปลี่ยนจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่งตามอัธยาศัยจนงานเลี้ยงเลิกลากันไป พวกเราจะนั้งคุยเฮฮากันไปในเรื่องเดียวกัน เน้นความสนุกสนานกระเซ้าเย้าแหย่กันไปในวงเล็กวงใหญ๋ อาหารกลางวงก็สรรหาของชอบของอร่อยเสด็จสะเด่า จัดหาจัดทำอาหารแปลกๆ อาหารหากินยากเอามากินกันในวงเหล้า ตัวอย่างเช่น กุ้งแช่น้ำปลา, ยำสามรส, ยำปลากรอบ, ยำไข่เยี่ยวม้า, ต้มยำไก่บ้าน, กุงเต้น ( ก้อยกุ้ง ), ลาบเป็ด, ปลานิลย่าง, ปลาช่อนเผา, กั้งทอดกระเทียม, หนังกบทอด, อ่อมเพลี้ย, ต้มเครื่องในร้อนๆ, ซกเล็ก
วันเวลาผ่านไปรวดเร็วเสมอ แต่เรื่องราวเหตุการณ์ที่เราเผชิญกลับผ่านไปรวดเร็วกว่า เรื่องหนึ่งเกิดขึ้นแล้วผ่านไป เรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป พวกเราเพียงแต่รับทราบเรียนรู้เก็บเกี่ยวสะสมไว้เป็นประสบการณ์ เรื่องราวในวงเหล้า
(ยังไม่จบนะ กำลังเขียนอยู่)

MUSIC FOR LIFE


ดนตรีตลอดชีวิต
ชีวิตในวัยเด็กนอกจากความสนุกสนานไปกับเพื่อนฝูงมากมายแล้ว ดนตรีคือเรื่องสนุกที่ชืนชอบมาตั้งแต่ตัวเล็กๆ เริ่มจากชอบร้องเพลง ต่อมาเรียนตนตรีเล่นดุริยางค์กับโรงเรียน ต่อมาเล่นวงดนตรีไทยเดิม แล้วก็เริ่มเล่นดนตรีอย่างจริงจังกับกีต้าร์ตัวแรก แล้ววันหนึ่งไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า จะได้กลับมาเล่นดนตรีที่เรารักอีกครั้งหนึ่ง












(ยังไม่จบนะ กำลังเขียนอยู่)




For the love of music

Papaya Salad



สมตำบังคลาเทศ

ขึ้นชื่อเรื่องส้มตำบังคลาเทศให้สงสัยกันก่อนว่ามันเป็นอย่างไร รับรองว่าเป็นส้มตำบังคลาเทศจริงๆ แต่ก่อนที่จะเขียนบอกเล่าไปถึงก็ขอ บอกเล่าเรื่องส้มตำที่พวกเราคุ้นเคย ต้องตั้งคำถามก่อนว่าพวกเรารู้จักส้มตำดีแค่ไหน ลองมาศึกษากันดูก่อน

ประวัติส้มตำ
(ที่มา วิกิพีเดีย)

ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้ง แรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้
มะละกอเป็น พืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและถูกนำเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้โดยชาวสเปนและโปรตุเกส ในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่พริกอาจถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวฮอลันดาในช่วงเวลาต่อมา

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นิโคลาส์ แชรแวส และ เดอ ลาลูแบร์ ต่างได้พรรณาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว และได้กล่าวถึง กระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มี กะหล่ำปลี และ ชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย อย่างไรก็ตามไม่มีการกล่าวถึง มะเขือเทศ และ พริกสด แต่อย่างใด

คนมักเข้าใจกันผิดว่าส้มตำเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานหรือของลาว แท้จริงแล้วส้มตำเป็นอาหารสมัยใหม่ถือกำเนิดมาราว 40 ปีเท่านั้น เนื่องจากในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน เปิดโอกาสให้ชาวอีสานได้ประดิษฐ์ส้มตำขึ้น

ส้มตำ เป็นอาหารที่คนอีสานชอบและกิน กินกับข้าวเหนียวหรือกินเล่นๆ ก็ได้ คนภาคอีสานและภาคเหนือเรียกว่า ตำส้ม การทำส้มตำทำง่ายๆ คือ นำมะละกอที่โตเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สุกหรือมะละกอห่ามๆ เกือบจะสุก มาปลอกเปลือกออก ล้างเอายางออกให้สะอาดแล้วสับไปตามทางยาวของลูกมะละกอ สับได้ที่แล้วก็ซอยออกเป็นชิ้นบางๆ จะได้มะละกอเป็นเส้นเล็กๆ ปลายเรียว เมื่อได้ปริมาณมากตามต้องการแล้ว ต่อไปก็เตรียม พริก กระเทียม มะนาว น้ำปลา ถ้าเป็นส้มตำแบบอีสานแท้นั้นใช้น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาหรือจะใช้ทั้งสองอย่าง

เมื่อเตรียมทุกอย่างครบแล้วก็นำ พริก กระเทียมมาใส่ลงในครก ใช้สากตำละเอียดพอประมาณ ใส่มะละกอที่ซอยไว้แล้วลงไป ตำให้พริก กระเทียม มะละกอคลุกเคล้ากันให้เข้ากันดี หากเตรียมมะเขือเทศและถั่วฝักยาวมาด้วยก็จะฝานผสมลงไป เติมมะนาว น้ำปลาร้า และน้ำปลา ตำคลุกเคล้ากันดีแล้ว ตักชิมรสดู เติมเปรี้ยวหรือเค็มตามต้องการ แล้วตักใส่จาน กินกับข้าวเหนียวได้พร้อมกับกับข้าวอย่างอื่น คนอีสานกินส้มตำเป็นกับข้าวได้ทุกมื้อ

ต่อมาตำส้มของชาวอีสานแพร่หลายลงมาภาคกลาง อาจเนื่องมาจากชาวอีสานมาทำงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ตำส้มแบบอีสานก็แพร่หลายในกรุงเทพและส่วนอื่นๆของประเทศไทย โดยเฉพาะร้านข้าวเหนียวส้มตำจะแพร่หลายอยู่ตามกลุ่มคนงานชาวอีสาน

นอกจากส้มตำก็จะมีไก่ย่าง ปลาดุกย่างและอาหารอื่นๆด้วย ส้มตำเลยเป็นที่นิยมแพร่หลาย การทำส้มตำจึงมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับคนภาคกลาง เช่น เพิ่มน้ำตาลให้มีรสหวาน เพิ่มถั่วลิสงคั่ว และกุ้งแห้ง ตัดปลาร้าออกใช้แต่น้ำปลาเป็นต้น ส้มตำ หรือ ตำส้มจึงมีรสดั้งเดิมแบบอีสาน หรือแบบภาคกลาง เรียกว่า ตำไทย ซึ่งออกรสหวาน ยิ่งกว่านั้นยังมีการเพิ่มปูดองเข้าไปอีกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่ง ขึ้น

ตำส้มของชาวอีสาน ไม่เฉพาะแต่มะละกอเท่านั้น ผลไม้อย่างอื่นที่ยังไม่สุกก็นำมาทำเป็นตำส้มได้ เช่นขนุนอ่อน มะม่วง มะยม เป็นต้น ปัจจุบัน ส้มตำมิใช่แพร่หลายเฉพาะในหมู่คนไทยเท่านั้น ส้มตำแพร่หลายออกไปจนกลายเป็นอาหารที่นานาชาติรู้จักและเป็นอาหารจานโปรดของ นักท่องเที่ยวที่โรงแรมชั้นหนึ่งทุกแห่ง ที่สำคัญ ทหารอเมริกันที่มารบกับเวียดนาม มาประจำที่ฐานทัพในประเทศไทย ต่างก็ติดใจตำส้มอีสาน นำไปเผยแพร่ที่อเมริกาจนรู้จักกันไปทั่วโลกทีเดียว

ส้มตำแบบต่างๆ

  • ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
  • ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ
  • ส้มตำปลาร้า ใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำซั่ว ใส่เส้นขนมจีนแทนเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำป่า ใส่ผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักกาดดอง ปลากอบ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน
  • นอกจากนี้ ยังมีบางที่ นำเอาผักหรือผลไม้ดิบ อย่างเช่น มะม่วงดิบ ใส่แทนมะละกอดิบ เรียกว่า "ตำมะม่วง, "กล้วยดิบ เรียกว่า "ตำกล้วย"], แตงกวา เรียกว่า "ตำแตง", ถั่วฝักยาว เรียกว่า "ตำถั่ว" และแครอทดิบ เป็นต้น ถ้าใช้ผลไม้หลายๆ อย่างเรียกว่า ตำผลไม้
  • นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงไป เช่น ใส่ปูม้าเรียกว่า ส้มตำปูม้า ใส่หอยดองเรียกว่า ส้มตำหอยดอง

(ยังไม่จบนะ กำลังเขียนอยู่)

GREEN MANGO SALAD OR GREEN APPLE SALAD ?


ยำมะม่วง กับยำแอ๊ปเปิล
(ยังไม่จบนะ กำลังเขียนอยู่)

Monday, September 7, 2009

การเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนแปลง




แล้วสมาคมของเราก็เดินทางมาถึงวันเปลี่ยนแปลง
การวิ่งวูบผ่านไปอย่างรวดเร็วของฤดูร้อนในโตรอนโต พร้อมกับการเดินทางมาถึงหน้าประดูบ้านของฤดูใบไม้ร่วง เป็นความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วกว่าวิถีชีวิตของพวกเรา เหล่าสมาชิกชมรมคนชอบกินเหล้าคืนวันพุธ แต่ความเคลื่อนไหวที่เป็นสัญญลักษณ์ของความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดที่เราเห็น กลับเป็นการปรากฎ ตัวของนักศึกษา U of T (University of Toronto) กับการมองเห็นได้ของความคึกคักของเด็กๆ และผู้ปกครองที่ออกมาจับจ่ายสินค้าต้อนรับการเปิดเทอม ร้านอาหารของเราก็ได้รับรู้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นและความกระชุ่มกระชวยของเหล่าลูกค้าหนุ่มสาว ที่กลับเข้ามา Toronto เพื่อเตรียมตัวสำหรับฤดูการศึกษาใหม่ รวมถึงลูกชายคนหนึ่ง ของท่านประธานชมรม ก็เป็นนักศึกษาของ U of T.
September เป็นเดือนสำคัญของคนทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งกำหนดเอาเดือนกันยายนเป็นเดือนเริ่มต้นของปีการศึกษาใหม่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพวกเขา หลังจากเก็บเกี่ยวความอบอุ่นความสดชื่นของฤดูร้อนสะสมเอาไว้ให้หนำใจแล้ว September ก็เป็นรอยต่อของฤดูร้อนที่จากไปอย่างรวดเร็ว และเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูหนาวอันยาวนานที่เคลื่อนตัวโอบล้อมเข้ามาอย่างช้าๆ การเปลี่ยนไปของโทนสีของท้องฟ้าที่ครอบคลุมโตรอนโตเอาไว้ อุณหภูมิที่สัมผัสผ่านผิวกายของเราก็กระซิบบอกให้เตรียมต้อนรับฤดูใบไม้ร่วง สื่อต่างๆ เริ่มโฆษณาขายยาแก้ภูมิแพ้ ที่เป็นโรคบอกฤดูกาลของคนแคนาเดี้ยน สัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงเดินทางมาถึงแล้ว ความเปลี่ยนแปลงนั้นได้แทรกซึมเข้ามาถึงวงเหล้าของเราแล้วในวันนี้ CIA หรือชื่อใหม่ "คุณนรินทร์" เป็นคนชงเหล้าต้อนรับแขกคนใหม่ผู้มาเยือนด้วยอัธยาศัยไมตรี พร้อมกับบอกกล่าวกับสมาชิกว่าเราจะมีการเปลี่ยนแปลง

เรื่องเขียนดีๆ ต้องมีน้ำ
ใครบางคนเคยพูดเอาไว้ว่า นักเขียนดีๆ ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นหลังจากส่งเนื้อเรื่องให้พวกเราได้อ่านกันไปตอนหนึ่งเพื่อขอฟังคำติชมจากเหล่าสมาชิก ปรากฎว่าคำวิจารณ์ที่ประทับใจมากที่สุดนั้นได้มาจาก CIA
ในวงเหล้าคืนวันนั้น เราย้ายวันนัดดื่มจากคืนวันพุธมาเป็นคืนวันศุกร์ โดยเหตุผลเพื่อต้อนรับการปิดเทอมที่สมาชิกต้องตื่นแต่เช้ารับภารกิจส่งลูกไปโรงเรียนและทุกคนต้องทำงานเช้าวันพฤหัส เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บุคลิกภาพ และภาพพจน์ดูดีในสายตาวิญญูชนทั่วไป เพราะการเมาค้างไปปรากฎตัวต่อสังคมยามเช้าไม่เป็นน่าดูชมเท่าไหร่ ทั้งรูปลักษณ์และกลิ่นเหล้า นั่นคือการเปลี่ยนแปลงที่เราได้ตกลงปลงใจกันเมื่อสัปดาห์ก่อน
เราเปิดชมรมในคืนวันศุกร์แรกด้วย แกงส้มปลาช่อนแปะซะกับชะอมทอด, หูหมูจิ้มน้ำจิ้มซีฟู๊ดรสแซบ และลูกชิ้นหมูห่อใบเกี๊ยวทอดกรอบ เราลงทุนตั้งหม้อไฟแก๊สสำหรับแกงส้มแปะซะเพื่อให้ได้บรรยากาศร้านคาเฟ่ น้ำแกงรสเข้มเร่าร้อนในอุณหภูมิน้ำเดือด กลิ่นฉุยควันโฉยวนใจ แต่กับแกล้มที่ถูกอกถูกใจที่สุดของพวกเราคือเรื่องคุยในวงเหล้า ความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยความสนุกสนานของพวกเราอยู่กับเรื่องราวต่างๆ ที่เราหยิบเอามาพูดคุยกัน ในแต่ละครั้งในตืนชุมนุมเรามีเรื่องหลากหลายทั้ง สังคม การเมือง กีฬาและเรื่องเซ็กซ์ พวกเราวิจารณ์การเมืองไทยที่กำลังสับสนวุ่นวายด้วยความห่วงใยประเทศบ้านเกิด ทางด้านสังคมเราหยิบยกเอาบุคคลต่างๆ เอาวิพาก โดยมีการตอกใข่ใส่ข่าว คลุกน้ำปลาชุบแป้งทอด เพื่อปรุงออกมาให้เป็นเรื่องราวที่ตลก สนุกสนาน ชวนหัว สำหรับเรื่องเซ๊กซ์ เราจับเอาปมด้อยของบุคคลต่างๆ เอามาแก้ไขปรับปรุง ยำด้วยน้ำปลา มะนาว พริกสดและน้ำพริกเผา แล้งเราก็จะได้เรื่องราวอีกมิติหนึ่งที่สร้างอารมณ์ขันกันสุดเหวี่ยว เสียงหัวเราะแบบหลุดโลกคือกับแกล้มที่ให้ความบันเทิงใจหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการงาน

Turning point is arrive.
And then our Association has to meet the turning point.
Summer in Toronto is running fast through the flash of the end. With the arrival of the fall is knocking the front door. It’s moving faster then our lives, those members who prefer to consume alcoholic’s night on Wednesday. But the symbol of the most concrete changes we see is appearance of students of U of T (University of Toronto) belong with a view of the vitality of children and parents in the back to school shopping. Our restaurant has been known to increase sales of their customers, which healthy and freshly young adults who returning to Toronto to prepare for the season, including the sons of our club president is also student of U of T. September is an important month of North American people. September is setout to be the beginning of the new academic year which consistent to their lifestyle. After harvesting the fresh warmth of summer into our lives just like squirrel correct all nuts for winter, then September is the boundaries end of summer and the beginning of a long winter is moving into round slowly. The changing of tone color of the sky that covering the Toronto, the temperature exposure of the body through the skin are telling us to prepare to welcome breathing fall. Medias start advertising to sale allergy medicine. The disease reminds Canadian the season that came by. Signs of change already arrived and slowly infiltration into our club today. CIA (or a new name called "Mr. Pourer") pours wine into a glass to hospitably welcome the new visitor (fall season), then he notifies to our members “We will be changed”.


(ยังไม่จบนะ กำลังเขียนอยู่)